การพิมพ์ในประเทศไทย สิ่งพิมพ์โฆษณาที่มีการตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งปรากฎขึ้นในหนังสือจดหมายเหตุ THE BANGKOK RECORDER ซึ่งจัดพิมพ์และเผยแพร่โดยมิชชันนารีชาวอเมริกันชื่อ หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ผู้โฆษณารายแรกนี้คือ โฆษณาขายยาควินินลงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 ลักษณะเป็นข้อความโฆษณา ทั้งหมดไม่มีภาพประกอบ แต่โฆษณาสิ่งพิมพ์ตัวนี้ไม่ได้มีการชำระเงินเพราะมีเนื้อหาต่อเนื่องมาจากบทความใหญ่เรื่อง ''ไข้จับสั่น'' โฆษณาที่มีการชำระเงินกันจริงๆ ตัวแรกคือ โฆษณาอู่บางกอก ด็อค ลงในปี พ.ศ. 2408 รูปแบบเป็นลักษณะแจ้งความบอกให้ผู้อ่านทราบ มีขนาดเล็กคล้ายโฆษณาย่อยแยก ประเภทในปัจจุบัน ไม่มีการล้อมกรอบให้เห็นชัด ไม่มีภาพประกอบ
หลังจากที่ทราบประวัติความเป็นมาคร่าวๆของจุดกำเนิดของโฆษณา สิ่งพิมพ์แล้ว วันนี้ผมมีโฆษณาที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวในวงการสิ่งพิมพ์ประเภท โฆษณา รวมถึงวงการสิ่งพิมพ์ไทย
มาแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักกัน
|
ภาพที่ได้รับรางวัล
Barriecycle [2550]
ผลิตภัณฑ์ : Clima Bicycle Lock
บริษัทโฆษณา: ลีโอ เบอร์เนทท์ ประเทศไทย
ผู้ออกความคิดโฆษณา: กีรติชัยมังคโล, สมพัฒน์ ทฤษฎีคุณ
ผู้กำกับศิลป์: พิพัฒน์ อุราพร, สมพัฒน์ ทฤษฎีคุณ
ผู้เขียนคำโฆษณา: นรนิติ์ ยาโสภา
ช่างภาพ: ชุบ นกแก้ว
เมื่อเห็นภาพนี้แล้ว เราจะสังเกตได้ว่าตัวจักรยานติดกับเสาสีแดง ขาว ในการคิดโฆษณาชิ้นนี้คือ
ล็อคแล้ว จักรยานไม่หาย โดยคิดให้ภาพให้เสาเป็นส่วนหนึ่งของจักรยานไปเลย สมพฒน์
ผู้คิดโฆษณาเล่าว่า เป็นงานที่สเกตช์ครั้งเดียวผ่าน ไม่มีการถกเถียงจากในทีม แต่ความยากคือ
ทำอย่างไรให้งานลงตัวพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป เวลาส่วนใหญ่เกือบ 3 เดือนจึงใช้ไปกับงานคราฟต์ ทั้งการหาสถานที่ที่เหมาะกับประเภทของจักรยาน หรือเสาสีขาว สีแดงที่อยากได้ให้เจอ
การเลือกใช้สีนั้นคือ สีแดง สีขาว เป็นจุดเด่น แสดงถึงการประสานความกลมกลืนกันระหว่างตัว
จักรยานและเสาเสมือนว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ส่วนการออกแบบนั้นไม่ซับซ้อน ไม่มีตัวอักษรหรือคำ
บรรยาย มีเพียงแค่สัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์มุมล่างขวา
หลายคนคงแปลกใจ ทำไมโฆษณาชิ้นนี้ถึงได้รับรางวัล ทั้งๆที่มีแต่ภาพ ไม่มีตัวอักษรอะไรที่บ่งบอกถึงการโฆษณาเลย แต่โฆษณานี้สามารถชวนให้ผู้ชม รวมถึงตัวผมตั้งคำถามว่าภาพนี้จะสื่อว่าอะไร
มองเผินๆตอนแรก คิดว่าจักรยานจอดอยู่ธรรมดา โฆษณาชิ้นนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยน หรือจุดเริ่มต้นที่
มีผลต่อสิ่งพิมพ์ไทยและสิ่งพิมพ์ทั่วโลกในเรื่องของการพัฒนาความคิด ที่เน้นใช้ภาพสื่อสาร ดึงดูดความสนใจมากกว่าตัวอักษรนั่นเองครับ
ปัจจุบัน โฆษณาชุดนี้ขึ้นเป็นกรณีศึกษาให้ผู้ที่สนใจไปแล้ว พร้อมทั้งกวาดรางวัลอีกยาวเหยียด 53 รางวัล ในจำนวนนั้นมีสิงโตทองคำ 2 ตัวจากหมวดสิ่งพิมพ์และเอาต์ดอร์ จนกลายเป็นสิ่งพิมพ์โฆษณา
ที่ได้รับรางวัลจากทุกเวทีประกวดในระดับโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 1 เมื่อปี 2550 จากนิตยสาร Gunn Report (2007 The most awarded print campaign in the world)
นี้ก็คือสิ่งพิมพ์ประเภท โฆษณาที่ผมสนใจและเกิดความประทับใจในเวลาต่อมา เมื่อรู้ถึงกระบวนการคิด การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ชิ้นนี้แล้ว ก็ยิ่งทำให้หันกลับมามองตัวเองในเรื่องของกระบวนการคิดในการทำงานต่างๆ ว่าจะทำออกมาในรูปแบบไหนให้เหมาะสม และดึงดูดความสนใจแก่ผู้ชมให้มากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก a day magazine
ภาพจาก: http://adsoftheworld.com
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น