ความรู้สึก จากใจ กว่าจะเป็น... mash magazine
หากมองย้อนกลับไป หนังสือที่เคยผ่านหูผ่านตามาแล้วนั้นนับไม่ถ้วน หนังสือทุกเล่มที่ได้หยิบขึ้น
มาอ่าน หนังสือเรียน นิยาย การ์ตูน เป็นการมองผ่านแค่ตัวหนังสือ และเพียงรูปภาพประกอบ
ตามจุดประสงค์ของการอ่านหนังสือประเภทนั้นๆ
mash magazine กับแนวทางในการแก้ไข
มาอ่าน หนังสือเรียน นิยาย การ์ตูน เป็นการมองผ่านแค่ตัวหนังสือ และเพียงรูปภาพประกอบ
ตามจุดประสงค์ของการอ่านหนังสือประเภทนั้นๆ
วันหนึ่งเมื่อผมโตขึ้นมา จากการอ่านหนังสือผ่านตัวอักษรสีดำๆ ธรรมดา ก็เริ่มสังเกตหนังสือเล่มที่อ่านมากขึ้น แน่นอนอย่างแรกที่เราจะหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมา ปกหนังสือ คือสิ่งแรกที่ทุกคนจะเห็น
เริ่มตั้งแต่ปกจนไปหาเนื้อใน การออกแบบ การใช้คำพูด ในขณะที่ผมได้เรียนวิชาทำหนังสือมาบ้างแล้วทำให้เราเริ่มจับผิด หรือติหนังสือเล่มนั้นๆ ทุกครั้งที่คิดว่ามันไม่เหมาะสมในความเห็นส่วนตัว
เริ่มตั้งแต่ปกจนไปหาเนื้อใน การออกแบบ การใช้คำพูด ในขณะที่ผมได้เรียนวิชาทำหนังสือมาบ้างแล้วทำให้เราเริ่มจับผิด หรือติหนังสือเล่มนั้นๆ ทุกครั้งที่คิดว่ามันไม่เหมาะสมในความเห็นส่วนตัว
จนวันหนึ่งในขณะที่ผมอยู่ชั้นปีที่ 3 ภาคการเรียนที่ 2 ก็ได้มีโอกาสรียนวิชา ET441 Printed Media Production ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งรู้มาจากรุ่นพี่ว่าเป็นวิชาที่จะต้องทำนิตยสารเองทุกกระบวน ยกเว้น กระบวนขั้นตอนของการพิมพ์ อาจารย์ได้ให้นิสิตจับฉลากทุกคนเพื่อความยุติธรรม ซึ่งต้องยอมรับว่านิสิตแต่ละคนมีความสามารถที่ตัวเองถนัดแตกต่างกันอย่างปฏิเสธไม่ได้ ยังจำความรู้สึกที่จับฉลากในการทำนิตยสารได้ ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันตลอดภาคการเรียน ในห้องเรียนคึกครื้น ไปด้วยเสียงของความตื่นเต้นที่จะได้อยู่กับเพื่อนที่อาจจะไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน แต่ผมชอบการจับฉลากนะ ผมได้อยู่กลุ่มกับเพื่อนสี่คน มี พลีม ปอนด์ ตาล และ พร้อม ซึ่งผมเคยทำงานร่วมกันมาก่อนบ้างอยู่แล้ว โดยส่วนก็เป็นคนชอบทำงานร่วมกับเพื่อนใหม่ๆอยู่ตลอด เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ท่าทาย และจะได้ฟังความคิดเห็น รวมถึงความสามารถในการทำงานของเพื่อน ๆ ทุกคนได้ครับ คิดว่าเมื่อเรียนจบเวลาไปสมัครงานหรือทำงานที่ไหน ก็คงไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกทำงานกับคนที่ตัวเองถูกใจได้หรอก
เมื่อรู้ว่าจะต้องเริ่มทำนิตยสาร กลุ่มผมก็มีการวางแผนในการทำงานอย่างแรกที่ต้องทำคือ จะทำนิตยสารออกมาแนวไหน รวมถึงกลุ่มเป้าหมาย และจะคงคอนเชปของเล่มไว้ให้ได้แบบเดิมอย่างไรหากมีเล่มต่อไป กลุ่มผมได้ปรึกษากันเห็นพ้องกันว่าจะทำนิตยสารอาหาร และสุขภาพ เนื่องจากคนเราจะต้องกินเพื่อมีชีวิตอยู่ และจะต้องรักษาสุขภาพเพื่อให้มีชีวิตที่ยาวนานมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันคนก็หันมาสนใจในเรื่องของการกิน และสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น แต่ใจจริงอยากทำแฟชั่น แต่เนื่องจากสามัคชิกกลุ่มตกลงเสียงส่วนใหญ่ก็ต้องยอมรับ
การทำนิตยสารของพวกเรา เมื่อได้รูปนิตยสารที่เราจะทำแล้ว ก่อนอื่นก็ช่วยกันตั้งชื่อหนังสือ ตัดสินใจกันอยู่นานมากกว่าจะได้ชื่อ 15 ในที่สุดก็ได้ชื่อ mash magazine หมายถึง การผสมผสาน เนื่องจากหนังสือเรามีทั้งอาหาร และเรื่องสุขภาพ เพื่อให้มัน mash กันนั่นเอง มาทราบทีหลังว่าชื่อเหมือนนิตยสารชื่อดังของอเมริกาด้วยความบังเอิญโดไม่รู้มาก่อนแต่อย่างใด ต่อมาคือการคิดชื่อคอลัมน์ นิตยสารแน่นอนหนังสือเราเน้นอาหาร และสุขภาพ จุดขายน่าจะเป็นเรื่อของงรูปด้วย เริ่มจากการเก็บข้อมูล คอลัมน์แรกที่ไปเก็บข้อมูลคือ follow up ร้านพันเส้น เป็นคอลัมน์ชวนชิมร้านอาหารชื่อดัง ที่ผมรับผิดชอบ และยังมีคอลัมน์ play ground แนะนำสถานที่ออกกำลังกาย และคอลัมน์ heal your health สัมภาษณ์นักกีฬาลีลาศตัวแทนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ และยังมีคอลัมน์อื่น ๆ อีกที่พวกเราแบ่งกันรับผิดชอบ
ถึงแม้ว่าหน้าที่แต่ละคนจะถูกแบ่งมาตั้งแต่ครั้งแรกจากการจับฉลากแล้ว แต่ในการทำงานจริงๆ
เรื่องแรกที่ทำเสร็จในคอลัมน์ Follow up |
ถึงแม้ว่าหน้าที่แต่ละคนจะถูกแบ่งมาตั้งแต่ครั้งแรกจากการจับฉลากแล้ว แต่ในการทำงานจริงๆ
ก็ช่วยกันทำ และผมก็อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วม และผมก็อยากมีส่วนร่วมกับงานที่ได้ทำ เพื่อให้เพื่อนทุกคนได้ทำกันทุกคนไม่ว่าจะออกมายังไงก็ตามแต่
สิ่งที่ผมและกลุ่มคำนึงถึงในการทำงาน
สิ่งที่ผมและกลุ่มคำนึงถึงในการทำงาน
1. รบกวนคนอื่นให้น้อยที่สุด คือ ขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น เพราะนี้คืองานของเรา ก่อนจะถาม
คนอื่น ควรลองทำด้วยตัวเองเสียก่อน หากผิดก็ลองแก้ไขด้วยตนเอง จะเกิดเรียนรู้มากว่าการถาม
โดยที่ยังไม่ได้ลงมือทำ แต่หากแก้ไขไม่ได้ ค่อยปรึกษา
คนอื่น ควรลองทำด้วยตัวเองเสียก่อน หากผิดก็ลองแก้ไขด้วยตนเอง จะเกิดเรียนรู้มากว่าการถาม
โดยที่ยังไม่ได้ลงมือทำ แต่หากแก้ไขไม่ได้ ค่อยปรึกษา
2. ฟังความคิดเห็นของเพื่อนแต่ละคนในกลุ่ม ใช้หลักเสียงส่วนมาก ตามหลักประชาธิปไตย
3. ยอมรับความสามารถ และศักยภาพของเพื่อนแต่ละคนได้ พร้อมช่วยเหลือเพื่อนเสมอ
3. ยอมรับความสามารถ และศักยภาพของเพื่อนแต่ละคนได้ พร้อมช่วยเหลือเพื่อนเสมอ
คำถาม นำไปใช้ได้จริงหรือ?
ผมว่าสามข้อหลักนี้ๆ ในการทำงานร่วมกับเพื่อน จะต้องเจอทุกข้อแน่ๆ เลยครับ ยิ่งเรื่องของการฟังความคิดเห็นของเพื่อน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา
หลังจากที่เก็บข้อมูลในบางคอลัมน์ไปแล้ว ก็เริ่มการออกแบบเลเอาท์ ให้ออกมาในรูปแบบที่เป็นไปทางเดียวกัน ผมใช้เวลาในการทำคอลัมน์ Follow up เบ็ดเสร็จ 3 วันรวมทั้งเก็บข้อมูล
mash magazine กับปัญหาหลักๆที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน
1. บ้านเพื่อน แต่ละคนอยู่ไกลมาก เพื่อนในกลุ่มเป็นผู้หญิงทั้งหมดเลย เพื่อนกลับบ้านดึกไม่ได้
2. เพื่อนแต่ละคนไม่เคยใช้โปรแกรม Adobe indesign มาก่อนเลย
3. คนดังที่นัดสัมภาษณ์เบี้ยวนัดไม่มาสัมภาษณ์
4. ตั้งค่าหน้ากระดาษใหญ่เกินไป
5. Export ไม่ตรงกับเอกสารที่ทำ ภาพและตัวอักษรบางอย่างหายไป
mash magazine กับแนวทางในการแก้ไข
1. นัดมาทำงานช่วงเช้าหน่อย และทำงานถึงตอนย็น เพื่อนจะได้ไม่กลับดึก
2. แนะนำให้เพื่อนเรียนรู้ด้วยตนเอง จาก internet youtube หากไม่เข้าใจให้ถามเพื่อน
3. เปลี่ยนคนใหม่ แต่ก็เกิดปัญหาอีกคือ เขาไม่ค่อยมีเวลากว่าจะนัดได้ก็อาทิตย์สุดท้ายก่อนจะส่งโรง
พิมพ์แล้ว
พิมพ์แล้ว
4. ก่อนส่งโรงพิมพ์ 1 วันผมได้ตรวจเช็คขนาดกระดาษ เพราะได้ทำเสร็จแล้ว เหลือปรับเลเอาท์นิดหน่อยกับพิสูจน์อักษร จึงทำให้ต้องเสียเวลาในการปรับขนาดกระดาษ โดยการ ตั้งค่ากระดาษใหม่แต่เลเอาท์ ที่วางไว้ ก็จะใหญ่กว่ากระดาษที่ตั้งใหม่ ทำให้ต้องย่อลง และปรับข้อความรวมถึงรูปภาพใหม่ทั้งหมด ปัญหาข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และผมเครียดมากเป็นที่สุด แต่ก็ผ่านมาได้
5. หาวิธีแก้ไขให้ได้ หากยัง Export ไม่ได้ Copy ตัวอักษรใส่ Notepad แล้ว วางเลเอาท์ใหม่อีกรอบ
5. หาวิธีแก้ไขให้ได้ หากยัง Export ไม่ได้ Copy ตัวอักษรใส่ Notepad แล้ว วางเลเอาท์ใหม่อีกรอบ
เสียดายเวลาที่เราวางแผนจะช่วยกันพิสูจน์อักษร และตรวจความถูกต้องของเลเอาท์ ต้องน้อยลงเนื่องจากใช้เวลาแก้ปัญหาข้อที่ 4 อยู่หนึ่งวันเต็ม ๆ สติแทบแตกเครียดมากครับ ก่อนจะส่งโรงพิมพ์ด้วย วันนั้นก่อนส่งโรงพิมพ์ ได้นอน 6 โมงเช้า ตื่น 10 โมงลุกขึ้นมาทำต่อ เพื่อให้ส่งโรงพิมพ์ทันตอนเที่ยง แต่แล้วก็ไม่ทัน จนกระทั่งเวลาสี่โมงก็เสร็จ จากนั้นนำไปส่งโรงพิมพ์โดยทันที
หลังจากที่ได้หนังสือมา รู้สึกภูมิใจกับฝีมือของตนเองมากๆ กับความเหนื่อย ทุ่มเทสุดตัว น้ำตาแทบไหล ไม่แปลกใจที่ตัวเองจะภูมิใจกับงานนี้มากกว่าทุกครั้ง เห็นรอยยิ้มเพื่อนๆ ในกลุ่มรู้สึกดีใจ เราเหนื่อย เราท้อ เราผ่านอุปสรรค ต่างๆ ปัญหามาด้วยกันมาทั้งเทอม ในที่สุดเราก็ทำเสร็จแล้ว มันหายเหนื่อยเลยนะ นี้เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานเราอาจจะไม่รู้ปัญหาล่วงหน้า บางทีเราก็ไม่รู้ว่าข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นอีก
สิ่งที่ได้รับมากที่สุด
คือในเรื่องของโปรแกรม Adobe photoshop และ Adobe indesign การจัดวางเลเอาท์ เป็นต้น ผมใช้เวลาอยู่กับมันทั้งเทอมรู้สึกว่าตัวเองคุ้นชิ้นกับมันมากขึ้นโดยเฉพาะ adobe indesign
ติดตามชมได้ที่ http://issuu.com/squareruth/docs/mash-magazine?mode=window
สุดท้ายขอบคุณอาจารย์นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ ที่ให้คำแนะนำตลอด รู้ว่าอาจารย์ทำงานหนักสอนก็หลายวิชา เห็นได้ว่าอาจารย์ทุ่มเทให้กับนิสิตมาก และขอบคุณอาจารย์ที่ให้พวกเราได้เรียนรู้มากกว่า
คำว่าเรียน คือการปฏิบัติจริงพร้อมกับเผชิญปัญหา และแก้ไขด้วยตนเอง จนผ่านมาได้ครับ....
หลังจากที่ได้หนังสือมา รู้สึกภูมิใจกับฝีมือของตนเองมากๆ กับความเหนื่อย ทุ่มเทสุดตัว น้ำตาแทบไหล ไม่แปลกใจที่ตัวเองจะภูมิใจกับงานนี้มากกว่าทุกครั้ง เห็นรอยยิ้มเพื่อนๆ ในกลุ่มรู้สึกดีใจ เราเหนื่อย เราท้อ เราผ่านอุปสรรค ต่างๆ ปัญหามาด้วยกันมาทั้งเทอม ในที่สุดเราก็ทำเสร็จแล้ว มันหายเหนื่อยเลยนะ นี้เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานเราอาจจะไม่รู้ปัญหาล่วงหน้า บางทีเราก็ไม่รู้ว่าข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นอีก
สิ่งที่ได้รับมากที่สุด
คือในเรื่องของโปรแกรม Adobe photoshop และ Adobe indesign การจัดวางเลเอาท์ เป็นต้น ผมใช้เวลาอยู่กับมันทั้งเทอมรู้สึกว่าตัวเองคุ้นชิ้นกับมันมากขึ้นโดยเฉพาะ adobe indesign
mash magazine
In my memory forever....
ติดตามชมได้ที่ http://issuu.com/squareruth/docs/mash-magazine?mode=window
สุดท้ายขอบคุณอาจารย์นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ ที่ให้คำแนะนำตลอด รู้ว่าอาจารย์ทำงานหนักสอนก็หลายวิชา เห็นได้ว่าอาจารย์ทุ่มเทให้กับนิสิตมาก และขอบคุณอาจารย์ที่ให้พวกเราได้เรียนรู้มากกว่า
คำว่าเรียน คือการปฏิบัติจริงพร้อมกับเผชิญปัญหา และแก้ไขด้วยตนเอง จนผ่านมาได้ครับ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น